การหย่า
การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ณ สำนักงานทะเบียนเดียวกัน
– สถานที่แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
– หนังสือข้อตกลงการหย่า หรือสัญญาหย่า ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อง ๒ คน
– บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการของทั้งสองฝ่าย
– ใบสำคัญการสมรส
– พยานบุคคล ๒ คน ถ้าไม่มีนายทะเบียนจะหาให้แต่ต้องเสียเงินค่าป่วยการพยาน ๒.๕๐ บาท
– ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสีย เว้นแต่ค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหาให้ ๒.๕๐ บาท
การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายต่างสำนักทะเบียน
– สถานที่แจ้ง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้โดยต่างฝ่ายต่างยื่นคำร้อง ณ สำนักงานทะเบียนที่ตนสะดวก
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
– บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการทั้งสองฝ่าย
– ใบสำคัญการสมรส
– หนังสือยินยอมการหย่า ซึ่งพยานลงชื่ออย่างน้อย ๒ คน
– ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสีย เว้นแต่ค่าป่วยการพยาน ๒.๕๐ บาท
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
– กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมหย่าโดยเป็นกรณีที่มีเหตุหย่าได้ตามกฎหมาย ฝ่ายที่ประสงค์จะหย่าต้องฟ้องต่อศาลให้มีคำพิพากษาให้หย่าได้
เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้หย่าโดยระบุให้ไปจดทะเบียนการหย่า คู่หย่าจะต้องไปจดทะเบียนการหย่าตามคำพิพากษาของศาล โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนไปด้วย แต่ถ้าคำพิพากษาให้หย่าจากกันเด็ดขาด คู่หย่าไม่ต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนการหย่าเพียงแต่นำคำพิพากษาไปให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนการสมรสที่เคยจดไว้เท่านั้น
ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียนม เว้นแต่ค่าป่วยการพยาน ๒.๕๐ บาท หรือค่าคัดรับรองสำเนาบันทึกการหย่าฉบับละ ๑๐ บาท