วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2551

ณ โรงแรม แกรนด์ เดอร์ วิลล์ วังบูรพา

สหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคารไทยพาณิชย์ และสหภาพแรงงานธนาคารไทยพาณิชย์

ได้รับเชิญเข้าร่วมสัมมนาอบรม เรื่อง “การประกันสังคม”

และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “บทบาทของสหภาพแรงงานต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน”


โครงการสัมมนาอบรม

เรื่อง “การประกันสังคม”

หลักการและเหตุผล

ผู้ประกันตนในระบบการประกันสังคม ภาคการเงินและธนาคารยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์ของประกันตนอันพึงมีพึงได้รับอย่างชัดเจน เนื่องจากผู้บริหารสถาบันการเงินและ ธนาคาร มักสร้างทัศนคติให้พนักงานเชื่อว่าสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล และเงินบำเหน็จบำนาญ ที่ธนาคารและสถาบันการเงินจัดให้กับพนักงานดีกว่าระบบประกันสังคม แต่ในความเป็นจริง พนักงานธนาคารบางระดับที่มีฐานะทางการเงินไม่มากพอจะทดรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล จึงไม่สามารถเข้าไปใช้บริการจากสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล จึงทำให้ผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมหันมาใช้บริการของประกันสังคมแทน เพราะไม่ต้องออกเงินค่ารักษา พยาบาล ในสภาวการณ์ปัจจุบันของการพัฒนาระบบประกันสังคม ทำให้กรรมการสหภาพแรงงาน จะต้องตอบคำถาม และเหตุผลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนประกันสังคมจากสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งกรรมการสหภาพแรงงานหลายคนก็ตอบคำถามได้บ้างไม่ได้บ้าง นับเป็นจุดอ่อนของกรรมการสหภาพแรงงานในเรื่องขององค์ความรู้เกี่ยวกับการประกันสังคม

ดังนั้นทางสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาความรู้และเข้าใจในเรื่องการประกันสังคมให้กับกรรมการสหภาพแรงงานซึ่งเป็นสมาชิกและผู้ประกันตนทั้งนี้เพื่อช่วยสร้างเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการแก่ผู้ประกันตนทุกหมู่เหล่าซึ่งเป็นภารกิจของสำนักงานประกันสังคม พึงให้การสนับสนุนอยู่แล้วประกอบกับทางสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย ได้รับหนังสือที่ ธง 0618/ว0124 เรื่องโครงการสนับสนุนองค์กรที่ไม่ใช่สภาองค์การนายจ้าง และสภาองค์การลูกจ้างเรื่องการประกันสังคม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจในงานประกันสังคม และก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้เกี่ยวข้อง สำนักงานสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมความรู้ เรื่องการประกันสังคม ขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้กรรมการสหภาพแรงงาน และสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าใจ และเห็นความสำคัญ

ของระบบประกันสังคม

2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีความรู้ในเรื่องกฎหมาย กฎกระทรวงต่างๆ เกี่ยวกับการประกันสังคม

3. เพื่อให้กรรมการสหภาพตอบข้อซักถามเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนอย่างถูกต้อง

4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำความรู้ไปใช้ และเผยแพร่ให้เกิดประโยชนสูงสุด


สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

บทบาทของสหภาพแรงงานสมาชิกสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย

ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน

การศึกษาบทบาทของสหภาพแรงงานทั้งบทบาทหลัก และบทบาทเสริมที่จะนำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งจะมองแยกออกมาเป็น 5 มิติ ดังนี้

1.  การได้รับการคุ้มครองในปัญหาพื้นฐานทั่วไปในการทำงาน (Traditional Goals)

– ค่าตอบแทนที่เพียงพอ และยุติธรรม (Adequate and Fair Compensation)

– เพียงพอที่จะดำรงชีวิตตามมาตรฐานของสังคมทั่วไป

– ได้รับอย่างยุติธรรม เมื่อเทียบกับงานอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

– สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ (Safe and Healthy Environment)

– สภาพสิ่งแวดล้อมการทำงานถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนด

– มีแผนควบคุม และป้องกันสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย และส่งเสริมคุณภาพ

2.  การได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมในการทำงาน(Fair Treatment at Work)

– มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism)

– มีความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล

– มีความเสมอภาคในการปฏิบัติงาน

– มีความเป็นประชาธิปไตยในการทำงาน

– มีความเข้าใจบทบาทของการทำงานตามรัฐธรรมนูญ

3.  การมีโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Intluence on  Decision)

– การมีโอกาสโดยตรงในการแสดงออก และพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์(Development of Human Capacities)

– ได้รับโอกาสในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถของตนเองอย่าง

สม่ำเสมอ

– แสวงหาความรู้ ทักษะ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน

– มีความกระตือรือร้นในการทำงานพัฒนางานในหน้าที่รับผิดชอบ

– มีการวางแผนการปฏิบัติงาน

4.  การได้ทำงานที่ท้าทายความสามารถ (Challenge of Work Conten)

– มีโอกาสเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีความมั่นคงในอาชีพ (Growth and Security)

– ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานมากขึ้น

– มีความมั่นคง และก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

– ได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับงานที่ตนเองรับผิดชอบ

5. ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตการทำงานกับการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป (Work and life Cycle)

– การบูรณาการทางสังคมในองค์กรเกี่ยวกับการทำงาน (Social Integration)

– ไม่มีอคติในการปฏิบัติงานร่วมกัน

– ไม่มีการแบ่งแยกเป็นพรรคเป็นพวก หรือทีมงานในองค์กร

– มีความรู้สึกว่าผู้ร่วมงานมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกว่าเดิมได้

– มีการพึ่งพา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

– มีจิตสำนึก รับผิดชอบในองค์กรร่วมกัน

– มีความสอดคล้องระหว่างชีวิตการทำงานกับการดำเนินชีวิตโดยส่วนรวม (The Total Life Space)

– ใช้เวลาเหมาะสมสำหรับกิจกรรมของตน งานครอบครัว และสังคม

– มีความสมดุลระหว่างการทำงาน และบทบาทของชีวิต

– ได้รับความดีความชอบ และความก้าวหน้าในช่วงชีวิตการทำงานที่เหมาะสม

– มีความสอดคล้องทางสังคมกับชีวิตการทำงาน หรือความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relevance)

– ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

– จิตสำนึกของการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวม